วันพฤหัสบดีที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2554

คอมพิวเตอร์หมายถึง
คอมพิวเตอร์ หมายถึง เครื่องคำนวณหรือเครื่องจักรกลที่มนุษย์มาเพื่อใช้ผ่อนแรงกาย และกำลังสมองในการทำงานของมนุษย์นั้น ๆ โดยการ ป้อนข้อมูล และคำสั่ง คอมพิวเตอร์ก็จะทำการประมวลผล และแสดงผลลัพธ์ให้โดยทั่วไปคอมพิวเตอร์จะมีด้วยกัน 3 ขนาด คือ

1.1 MATNFRAME COMPTER เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ มีความสามารถในการเก็บบันทึกข้อมูลได้เป็นจำ นวนมาก และประมวลผลได้รวดเร็ว

1.2 MINI COMPUTER เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กรองลงมาจาก MAINFRAME มีความสามารถในการเก็บข้อ มูลได้เป็นจำนวนมาก และประมวลผลได้รวดเร็วใกล้เคียง MAINFRAME

1.3 MICRO COMPUTER หรือในอีกชื่อหนึ่งว่า PRESONAL COMPUTER (PC ) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กเหมาะสมกับการใช้งานทั่วๆ ไป ที่มีการเก็บข้อมูลไม่มากนัก ความเร็วในการประมวลผลนั้นขึ้นอยู่กับเครื่องแต่ละระดับ

คอมพิวเตอร์มีที่มาอย่างไร
ปี พ.ศ. 2500 (1957) โซเวียดได้ปล่อยดาวเทียม Sputnik ทำให้สหรัฐอเมริกาได้ตระหนักถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ดังนั้น ค.ศ. 2512 (1969) กองทัพสหรัฐต้องเผชิญหน้ากับความเสี่ยงทางการทหาร และความเป็นไปได้ในการถูกโจมตี ด้วยอาวุธปรมาณู หรือนิวเคลียร์ การถูกทำลายล้าง ศูนย์คอมพิวเตอร์ และระบบการสื่อสารข้อมูล อาจทำให้เกิดปัญหาทางการรบ และในยุคนี้ ระบบคอมพิวเตอร์ ที่มีหลากหลายมากมายหลายแบบ ทำให้ไม่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร และโปรแกรมกันได้ จึงมีแนวความคิด ในการวิจัยระบบที่สามารถ เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์ และแลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างระบบที่แตกต่างกันได้ ตลอดจนสามารถรับส่งข้อมูลระหว่างกัน ได้อย่างไม่ผิดพลาด แม้ว่าคอมพิวเตอร์บางเครื่อง หรือสายรับส่งสัญญาณ เสียดายหรือถูกทำลาย กระทรวงกลาโหมอเมริกัน (DoD = Department of Defense) ได้ให้ทุนที่มีชื่อว่า DARPA (Defense Advanced Research Project Agency) ภายใต้การควบคุมของ Dr. J.C.R. Licklider ได้ทำการทดลอง ระบบเครือข่ายที่มีชื่อว่า DARPA Network และต่อมาได้กลายสภาพเป็น ARPANet (Advanced Research Projects Agency Network) และต่อได้มาพัฒนาเป็น INTERNET ในที่สุด
การเริ่มต้นของเครือข่ายนี้ เริ่มในเดือน ธันวาคม 2512 (1969) จำนวน 4 มหาวิทยาลัย ได้แก่
- มหาวิทยาลัยยูทาห์
- มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตาบาบารา
- มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลอสแองเจลิส
- สถาบันวิจัยของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
        และขยายต่อไปเรื่อยๆ เป็น 50 จุดในปี พ.ศ. 2515 จนเป็นหลายล้านแห่งทั่วโลกทีเดียว
งานหลักของเครือข่ายนี้ คือ การค้นคว้าและวิจัยทางทหาร ซึ่งอาศัยมาตรฐานการรับส่งข้อมูลเดียวกัน ที่เรียกว่า Network Control Protocol (NCP) ทำหน้าที่ควบคุมการรับส่งข้อมูล การตรวจสอบความผิดพลาดในการส่งข้อมูล และตัวกลางที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเข้าด้วยกัน และมาตรฐานนี้ก็มีจุดอ่อนในการขยายระบบ จนต้องมีการพัฒนามาตรฐานใหม่
         พ.ศ. 2525 ได้มีมาตรฐานใหม่ออกมา คือ Transmission Control Protocol/Internet Protocol (TCP/IP) อันเป็นก้าวสำคัญของอินเตอร์เน็ต เนื่องจากมาตรฐานนี้ทำให้คอมพิวเตอร์ต่างชนิดกัน สามารถรับส่งข้อมูลไปมาระหว่างกันได้ เปรียบเสมือนเป็นหัวใจของอินเตอร์เน็ตเลยก็ว่าได้

       จากระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ที่มีอยู่ในยุคนั้น ไม่สามารถตอบสนองการสื่อสารได้ บริษัทเบลล์ (Bell) ได้ให้ทุนการศึกษาแก่ ห้องทดลองที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่ง ในสมัยต่อมา คือ Bell's Lab ให้ทดลองสร้าง ระบบปฏิบัติการแห่งอนาคต (ของคนในยุคนั้น) เดนนิส ริสซี และ เคเน็ต ทอมสัน ได้ออกแบบ และพัฒนาระบบที่มีชื่อว่า UNIX ขึ้น และแพร่หลายอย่างรวดเร็ว พร้อมๆ กับการแพร่หลายของระบบ Internet เนื่องจากความสามารถ ในการสื่อสารของ UNIX และมีการนำ TCP/IP มาเป็นส่วนหนึ่งของระบบปฏิบัติการนี้ด้วย
      พ.ศ. 2529 มูลนิธิวิทยาลัยศาสตร์แห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (National Science Foundation - NSF) ได้วางระบบเครือข่ายขึ้นมาอีกระบบหนึ่ง เรียกว่า NSFNet ซึ่งประกอบด้วยซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ 5 เครื่องใน 5 รัฐ เชื่อมต่อเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา และค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ และมีการใช้มาตรฐาน TCP/IP เป็นมาตรฐานหลักในการรับส่งข้อมูล ส่งผลให้การใช้งานเครือข่ายเป็นไปอย่างรวดเร็ว
หลังจากนั้นก็มีเครือข่ายอื่นๆ เกิดขึ้นมาเช่น UUNET, UUCP, BitNet, CSNet เป็นต้น และต่อมาได้เชื่อมต่อกัน โดยมี NSFNet เป็นเครือข่ายหลัก ซึ่งเปรียบเสมือนกระดูกสันหลังของเครือข่าย (Backbone)

      ในปี พ.ศ. 2530 เครือข่าย ARPANET ได้รวมกับ NSFNET และลดบทบาทตัวเองลงมา เปลี่ยนไปใช้บทบาทของ NSFNet แทน และเลิกระบบ ARPANET ในปีพ.ศ. 2534
ในปัจจุบัน Internet เป็นการต่อโยงทางตรรกะ (Logic) ของระบบคอมพิวเตอร์นับล้าน ๆ เครื่อง และโยงกับระบบ Wide Area Network (WAN) ต่างๆ เช่น MILNET, NSFNET, CSNET, BITNET หรือแม้แต่ เครือข่ายทางธุรกิจ เช่น IBMNET, Compuserve Net และอื่น ๆ ภายใต้โปรโตคอล ที่มีชื่อว่า TCP/IP โดยที่ขนาดของเครือข่าย ครอบคลุมไปทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย และมีการขยายขอบเขตออกไป อย่างไม่หยุดยั้ง

        ระบบ Internet เป็นการนำเครือข่ายขนาดใหญ่ที่สุดของโลก ที่มีการต่อเสมือนกับ ใยแมงมุม หรือ World Wide Web หรือเรียกย่อๆ ว่า WWW (มีการบัญญัติศัพท์ว่า เครือข่ายใยพิภพ) ในระบบนี้เราสามารถเปรียบเทียบ Internet ได้ สองลักษณะคือ ลักษณะทางกายภาพ และทางตรรกะ ในทางกายภาพ (Physical) นั้น Internet เป็นเครือข่ายที่รับอิทธิพลจาก เครือข่ายโทรศัพท์โดยตรง ในสหรัฐอเมริกา บริษัทที่เป็นผู้ให้บริการ Internet ก็เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจ ทางโทรศัพท์ เช่น MCI, AT&T, BELL เป็นต้น และอีกลักษณะหนึ่ง ที่เป็นความเด่นของระบบ คือลักษณะทางตรรกะ หรือ LOGICAL CONNECTION ที่เป็นเสมือนใยแมงมุม ครอบคลุมโลกไว้

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง
ซีพียู

แรม

เมนบอร์ด

การ์ดจอ

การ์ดเสียง

เคส

ตัวจ่ายไฟในเคส

พัดลม
ระบบคอมพิวเตอร์คืออะไร
ระบบคอมพิวเตอร์ คือองค์ประกอบหลัก ที่จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ ถ้าขาดองค์ประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งแล้ว คอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถที่จะทำงานได้ ระบบของคอมพิวเตอร์นี้ประกอบไปด้วย องค์ประกอบหลักที่สำคัญ 3 ส่วนคือ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และพีเพิลแวร์

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์
  โดยหลักการแล้ว ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ที่ทำงานตามหน้าที่ 4 ส่วนด้วยกัน คือ

    1.) ส่วนรับข้อมูล (Input Unit)
    2.) ส่วนประมวลผลข้อมูล (Central Processing Unit)
    3.) ส่วนแสดงผล (Output Unit)
    4.) หน่วยความจำ (Memory Unit)
ส่วนรับข้อมูล (Input Unit) เป็น ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลจากคน และส่งต่อข้อมูลไปยัง หน่วยประมวลผล(Process Unit) เพื่อทำการประมวลผลต่อไป รูปแบบการส่งข้อมูลจากอุปกรณ์รับข้อมูลจะอยู่ในรูปของการส่งสัญญาณเป็นรหัสดิจิตอล (หรือเป็นเลข 0 กับ 1) นั่นเองอุปกรณ์ส่วนรับข้อมูล ได้แก่ 

    - คีย์บอร์ด (keyboard)
- เมาส์ (mouse)
    - สแกนเนอร์ (scanner)
- อุปกรณ์สแกนลายนิ้วมือ (finger scan)
ไมโครโฟน(microphone)
- กล้องเว็บแคม (webcam)
   อุปกรณ์ใน ส่วนรับข้อมูล ยังมีอีกมากมายและสามารถจะยังมีเพิ่มตามขึ้นไปเรื่อยๆ ตามการพัฒนาด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
  ส่วนประมวลผลข้อมูล (Central Processing Unit) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลที่รับมาจาก ส่วนรับข้อมูล(Input Unit) เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ อีกทั้งยังทำหน้าที่ในการควบคุมการทำงานต่างๆ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ 
 หน่วยแสดงผล (Output Unit) เป็นหน่วยที่แสดงผลลัพธ์ที่มาจากการประมวลผลข้อมูล ของส่วนประมวลผลข้อมูล โดยปกติรูปแบบของการแสดงผล มีอยู่ 2 แบบ ด้วยกันคือ แบบที่สามารถเก็บไว้ดูภายหลังได้ และแบบที่ไม่มีสำเนาเก็บไว้ 

    - แบบที่สามารถเก็บไว้ดูภายหลังได้ เช่น เครื่องพิมพ์ (Printer) และ เครื่องวาด (Plotter) 
   - แบบที่ไม่มีสำเนาเก็บไว้ เช่น จอภาพ(Monitor) , เครื่องฉายภาพ(LCD Projector) และ ลำโพง (Speaker)
หน่วยความจำ (Memory Unit) อุปกรณ์เก็บสถานะข้อมูลและชุดคำสั่ง เพื่อการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ แบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ หน่วยความจำชั่วคราวและหน่วยความจำถาวร 


    - หน่วยความจำชั่วคราว คือ แรม (RAM: Random Access Memory)เป็นหน่วยความจำที่ใช้ขณะคอมพิวเตอร์ทำงาน ข้อมูลและชุดคำสั่งจะหายไปทุกครั้งที่เราปิดเครื่อง 
   - หน่วยความจำถาวรหรือ หน่วยความจำหลัก ได้แก่ ฮาร์ดดิสก์ Hard Disk ที่ใช้ในการเก็บข้อมูล และ รอม (ROM: Read Only Memory) ที่ใช้ในการเก็บค่าไบออส หน่วยความจำถาวรจะใช้ในการเก็บข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์และจะไม่สูญหายเมื่อปิดเครื่อง 

ฮาร์ดแวร์sหมายถึงอะไร

ฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ (รูปธรรม) ไม่รวมระบบข้อมูล เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ตามลักษณะการทำงาน ได้ 4 หน่วย คือ หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) หน่วยแสดงผล (Output Unit) หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage) โดยอุปกรณ์แต่ละหน่วยมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ หรือ คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ (อ. computer hardware) หรือเรียกย่อว่า ฮาร์ดแวร์ (อ. hardware) หรือ ส่วนเครื่อง [1] เป็นคำที่ใช้อ้างอิงถึง ส่วนที่จับต้องได้ ของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งไม่รวมถึงข้อมูล, ระบบการคำนวณ, และซอฟต์แวร์ ที่ป้อนชุดคำสั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำการประมวลผลความจริง ขอบเขตที่แบ่งระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ไม่ได้ชัดเจน เพราะระหว่างกลางอาจจะมีเฟิร์มแวร์ ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่สร้างมาโดยเฉพาะ เพื่อฝังไว้ในฮาร์ดแวร์อยู่ด้วย โดยที่ผู้ใช้ทั่วไป ไม่จำเป็นต้องกังวลกับเฟิร์มแวร์เหล่านี้ เพราะเป็นส่วนที่โปรแกรมเมอร์ และวิศวกรคอมพิวเตอร์ เป็นผู้ดูแลสถาปัตยกรรมของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ประกอบด้วยเมนบอร์ด, มาเธอร์บอร์ด เป็นศูนย์รวมของหน่วยประมวลผลกลาง และหน่วยความจำหลัก พร้อมส่วนเชื่อมต่อสำหรับต่ออุปกรณ์ภายนอกเพิ่มเติม ส่วนจ่ายไฟ (พาวเวอร์ซัพพลาย) เป็นอุปกรณ์ที่แปลงไฟ และควบคุมระดับไฟฟ้า ส่วนเก็บข้อมูล ประกอบด้วยส่วนควบคุมการทำงาน และติดต่อกับอุปกรณ์เก็บข้อมูล เช่น แรม, ฟลอปปี้ดิสก์, ดีวีดีรอม, ซีดีรอม, เทป, ฮาร์ดดิสก์ ฯลฯ ส่วนควบคุมการแสดงผล (การ์ดจอ) สำหรับควบคุมและส่งภาพไปยังหน้าจอ ส่วนควบคุมการติดต่อกับอุปกรณ์ภายนอก โดยรับ/ส่งข้อมูลผ่านทางช่องสัญญาณ เช่น พอร์ตขนาน, พอร์ตอนุกรม, PS/2, ยูเอสบี, ไฟร์ไวร์ ฯลฯ ส่วนควบคุมการติดต่อกับอุปกรณ์เสริมภายใน เช่น ISA, PCI, AGP, PCI-X, PCI-E ฯลฯ คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ หมายถึง ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์รอบข้างที่เกี่ยวข้องต่างๆซึ่งประกอบด้วยส่วนที่สำคัญคือ หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจำหลัก หน่วยรับข้อมูล หน่วยแสดงผล และหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง2.1 หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) หน่วยประมวลผลกลางหรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า ซีพียู (CPU) เป็นหน่วยที่เปรียบเสมือนสมองของระบบคอมพิวเตอร์ และเป็นหน่วยที่มีความซับซ้อนมากที่สุด ส่วนประกอบต่าง ๆ ในหน่วยประมวลผลกลางเป็นตัวกำหนดความเร็วของเครื่องคอมพิวเตอร์ หน่วยประมวลผลกลางรุ่นใหม่ ๆ จะมีขนาดเล็กลงในขณะที่มีความเร็วเพิ่มขึ้น2.2 หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการจดจำข้อมูล และโปรแกรมต่าง ๆ ที่อยู่ระหว่างการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ บางครั้งอาจเรียกว่า หน่วยเก็บข้อมูลหลัก (Primary storage) สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ2.2.1 หน่วยความจำหลักแบบอ่านได้อย่างเดียว (Read Only Memory)2.2.2 หน่วยความจำหลักแบบแก้ไขได้ (Random Access Memory)2.3 หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) ทำหน้าที่รับข้อมูลจากผู้ใช้เข้าสู่หน่วยความจำหลัก ปัจจุบันมีสื่อต่าง ๆ ให้เลือกใช้ได้มากมาย แบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้2.3.1 อุปกรณ์แบบกด (Keyed Device) แป้นพิมพ์ (Keyboard) แบ่งเป็น 4 กลุ่มด้วยกันคือ แป้นอักขระ (Character Keys) แป้นควบคุม (Control Keys) แป้นฟังก์ชัน (Function Keys) แป้นตัวเลข (Numeric Keys)2.3.2 อุปกรณ์ชี้ตำแหน่ง (Pointing Device) เช่น เมาส์ (Mouse) ลูกกลมควบคุม (Track ball) แท่งชี้ควบคุม (Track Point) แผ่นรองสัมผัส (Touch Pad) จอยสติก (Joy stick) เป็นต้น2.3.3 จอภาพระบบไวต่อการสัมผัส (Touch-Sensitive Screen) เช่น จอภาพระบบสัมผัส (Touch screen)2.3.4 ระบบปากกา (Pen-Based System) เช่น ปากกาแสง (Light pen) เครื่องอ่านพิกัด (Digitizing tablet)2.3.5 อุปกรณ์กวาดข้อมูล (Data Scanning Device) เช่น เอ็มไอซีอาร์ (Magnetic Ink Character Recognition - MICR) เครื่องอ่านรหัสบาร์โค้ด (Bar Code Reader) สแกนเนอร์ (Scanner) เครื่องรู้จำอักขระด้วยแสง (Optical Character Recognition - OCR) เครื่องอ่านเครื่องหมายด้วยแสง (Option Mark Reader -OMR) กล้องถ่ายภาพดิจิตอล (Digital Camera) กล้องถ่ายทอดวีดีโอดิจิตอล (Digital Video)2.3.6 .อุปกรณ์รู้จำเสียง (Voice Recognition Device) เช่น อุปกรณ์วิเคราะห์เสียงพูด (Speech Recognition Device)2.4 หน่วยแสดงผล (Output Unit) ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์จากคอมพิวเตอร์ โดยมากจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท2.4.1.หน่วยแสดงผลชั่วคราว (Soft Copy) หมายถึงการแสดงผลออกมาให้ผู้ใช้ได้รับทราบในขณะนั้น แต่เมื่อเลิกการทำงานหรือเลิกใช้แล้วผลนั้นก็จะหายไป ไม่เหลือเป็นวัตถุให้เก็บได้ ถ้าต้องการเก็บผลลัพธ์นั้นก็สามารถส่งถ่ายไปเก็บในรูปของข้อมูลในหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง เพื่อให้สามารถใช้งานได้ในภายหลัง2.4.2 หน่วยแสดงผลถาวร (Hard Copy) หมายถึงการแสดงผลที่สามารถจับต้อง และเคลื่อนย้ายได้ตามต้องการ มักจะออกมาในรูปของกระดาษ2.5 หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage Unit) เนื่องจากแรมเป็นหน่วยความจำที่ไม่ได้เก็บข้อมูลอย่างถาวร ถ้าปิดเครื่องหรือไฟดับข้อมูลก็หายไป ดังนั้นถ้าผู้ใช้มีข้อมูลอยู่ในแรมก็จะต้องทำการจัดเก็บข้อมูล โดยย้ายข้อมูลจากหน่วยความจำไปไว้ในหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง เนื่องจากสามารถเก็บข้อมูลได้อย่างถาวร เก็บข้อมูลเป็นจำนวนมากได้ แต่ความเร็วในการอ่านและบันทึกข้อมูลของหน่วยเก็บข้อมูลสำรองจะต่ำกว่าแรมมาก ดังนั้นจึงควรทำงานให้เสร็จก่อนจึงย้ายข้อมูลนั้นไปไว้ในหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง2.6 ส่วนประกอบอื่น ๆ2.6.1 แผงวงจรหลัก (Main Board)2.6.2 ส่วนเชื่อมต่ออุปกรณ์ (Peripheral Inteface)2.6.3 อุปกรณ์พีซีการ์ด (PC-Card)2.6.4 อุปกรณ์สื่อสารข้อมูล (Data communication device)2.6.5 ยูพีเอส (UPS)

ส่วนประกอบของฮาร์ดแวร์มีอะไรบ้าง
Mainboard, Power supply, ส่วนเก็บข้อมูล ประกอบด้วยส่วนควบคุมการทำงาน และติดต่อกับอุปกรณ์เก็บข้อมูล เช่น แรม, ฟลอปปี้ดิสก์, ดีวีดีรอม, ซีดีรอม, เทป, ฮาร์ดดิสก์ ฯลฯ, การ์ดจอ, และส่วนที่ติดต่อกับอุปกรณ์อื่นๆภายนอกคอมพิวเตอร์

วงจรการทำงานของคอมพิวเตอร์

   เป็นขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ได้ ผลลัพธ์หรือข้อสนเทศจากคอมพิวเตอร์ ในการทำงานกับคอมพิวเตอร์จำเป็นที่จะต้องให้ผู้ใช้เข้าใจขั้นตอนการทำงาน ต้องมีระเบียบปฏิบัติให้เป็นแบบเดียวกัน มีการจัดทำคู่มือการใช้คอมพิวเตอร์ให้ทุกคนเรียนรู้และใช้อ้างอิงได้นอกจากนั้นเมื่อการใช้มาตรฐาน ช่วยให้การประสานงาน ระหว่างหน่วยงานย่อยๆ ราบรื่น การจัดซื้อจัดหา ตลอดจนการบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ก็จะง่ายขึ้นเพราะทุกหน่วยงานใช้มาตรฐานเดียวกัน

      ส่วนที่ทำหน้าที่รับข้อมูล และคำสั่ง เรียกว่า หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) ได้แก่ แป้นพิมพ์ (Keyboard) , เมาส์ (Mouse), จอยสติก (Joy stick), ปากกาแสง (Light pen), เครื่องอ่านพิกัด (Digitizing tablet), สแกนเนอร์ (Scanner), เครื่องอ่านรหัสแท่ง (Bar Code Reader), เอ็มไอซีอาร์ (Magnetic Ink Character Recognition - MICR), เครื่องรู้จำอักขระด้วยแสง (Optical Character Recognition - OCR), เครื่องอ่านเครื่องหมายด้วยแสง (Optical Mark Reader - OMR ), กล้องถ่ายภาพดิจิทัล (Digital Camera), กล้องถ่ายทอดวิดีโอดิจิทัล (Digital Video) เป็นต้น
ส่วนที่นำเอาข้อมูลและคำสั่งไปประมวลผล เรียกว่า หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) ประกอบด้วย 2 หน่วย คือ

     หน่วยควบคุม (Control Unit) ทำหน้าที่อ่านคำสั่งเข้ามาทีละคำสั่ง (Interuction) และ ตีความ (Decode) ว่าเป็นคำสั่งใด ใช้ข้อมูลจากที่ไหน (เป็นข้อมูลที่ถูกนำเข้าหรือส่งออกจาก ALU หน่วยความจำหลัก หน่วยจัดเก็บข้อมูล หรือหน่วยนำเข้า/แสดงผลข้อมูล) ซึ่งถือว่า เป็นการควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทั้งหมด และประสานงานระหว่างหน่วยต่าง ๆ ในระบบคอมพิวเตอร์
หน่วยคำนวณ/ตรรกะ (Arithmetic/Logical Unit) ทำหน้าที่ประมวลผลคำสั่งด้วยวีการ ทางคณิตศาสตร์ เช่น บวก (+) ลบ (-) คูณ (x) หาร (/) เป็นต้น และเปรียบเทียบค่าของข้อมูล เช่น มากกว่า (>) น้อยกว่า (>) มากกว่าหรือเท่ากับ ( > ) เป็นต้น

        ขั้นตอนที่ 1 : Fetch Instruction หน่วยควบคุมเข้าถึง (Access) คำสั่งที่ถูก Execute จากหน่วยความจำ

        ขั้นตอนที่ 2 : Decode Instruction คำสั่งถูกตีความ ( Decode) เพื่อให้รู้ว่าต้องทำงานอะไร แล้วข้อมูลที่ต้องใช้ในการ ประมวลผลจะถูกเคลื่อนย้ายจากหน่วยความจำมาเก็บไว้ที่รีจิสเตอร์ (Register) จากนั้นจะกำหนดตำแหน่งของคำสั่งถัดไป
 ทั้งขั้นตอนที่ 1 และ 2 เรียกรวมกันว่า "Instruction Phase" และเวลาที่ใช้ในการกระทำเฟสนี้เรียกว่า "Instruction Time (I-time)"

      ขั้นตอนที่ 3 : Execute Instruction ALU ปฏิบัติงานตามคำสั่งที่ตีความได้ ไม่ว่าจะเป็นการคำนวณทางคณิตศาสตร์หรือการ เปรียบเทียบ

       ขั้นตอนที่ 4 : Store Results เก็บผลลัพธ์ที่ประมวลผลได้ลงในหน่วยความจำ
ทั้งขั้นตอนที่ 3 และ 4 เรียกรวมกันว่า "Execution Phase" และเวลาที่ใช้ในการกระทำเฟสนี้ เรียกว่า "Execution Time (E-time)"

 ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีระบบนาฬิกา (System clock) ติดตั้งอยู่ภายในเพื่อควบคุมการทำงานของส่วนต่าง ๆ ให้เข้ากันเป็นจังหวะ ประสานงานกันได้เป็นอย่างดี โดยความเร็วของ CPU มีหน่วยวัดเป็นเมกะเฮิร์ต (Mz : Magahertz) ซึ่งเป็นความเร็วของนาฬิกา 1 MHz เท่ากับ 1 ล้านรอบต่อวินาที ในปัจจุบันเครื่อง PC จะมีความเร็วของสัญญาณนาฬิกาเพิ่มขึ้นมาก ปัจจุบันมีความเร็วเป็น กิกะเฮิร์ซ (GHz) ดังนั้น ความเร็วของสัญญาณนาฬิกายิ่งสูงขึ้นเท่าใด หมายถึง ความเร็วในแต่ละรอบการทำงานก็ยิ่งสูงขึ้นเท่านั้น ใน 1 รอบคำสั่ง (Instruction Cycle) จะประกอบด้วย 4 ขั้นตอนข้างต้น
รูปแบบการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ (Data Processing)

 พิจารณาตามลักษณะการประมวลผลข้อมูล แบ่งได้ 3 ประเภท คือ
1. การประมวลผลส่วนบุคคล (Personal Computing)
 ไมโครคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer: PC) จะมีการประมวลผลโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องเดียวที่เป็นอิสระจากกัน เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะไม่สามารถติดต่อสื่อสาร เชื่อมโยงข้อมูลร่วมกันได้ ซึ่งหากต้องการใช้ข้อมูลร่วมกันจะต้องคัดลอกไปยังหน่วยความจำสำรอง เช่น แผ่นดิสก์ จากเครื่องเพื่อถ่ายโอนสู่อีกเครื่องหนึ่ง
2. การประมวลผลแบบรวมศูนย์ (Centralized Computing)
 เป็นระบบที่นำอุปกรณ์ประมวลผล ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์มารวมไว้ในคอมพิวเตอร์เครื่องเดียว ใช้กับองค์กรขนาดใหญ่ซึ่งใช้คอมพิวเตอร์ชนิดเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer)โดยมีผู้ทำหน้าที่ควบคุมการประมวลผลเพียงผู้เดียว ซึ่งเป็นที่ยุ่งยากมาก ต่อมาจึงมีการพัฒนาการประมวลผล โดยแบ่งออกได้เป็น 2 วิธีคือ

การประมวลผลแบบแบทช์ (Batch Processing) เป็นระบบที่ทำงานในลักษณะ เตรียมการประมวลผลในขั้นต่อไป โดยใช้อุปกรณ์ประเภท Input/Output Unit ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของ CPU เช่น เครื่องบันทึกเทป (Key to tape) เครื่องบันทึกจานแม่เหล็ก (Key to disk)บัตรเจาะรู (Punched Card) เป็นอุปกรณ์นำเข้าและอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล มีลักษณะการประมวลผลโดยมีการรวบรวมข้อมูลไว้ช่วงเวลาหนึ่งก่อนที่จะนำข้อมูลมาประมวลผลพร้อมกัน การประมวลผลจะทำเป็นช่วงเวลา เช่น การทำบัญชีเงินเดือนพนักงานทุกสิ้นเดือน ระบบคิดดอกเบี้ยสะสม 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี ของธนาคาร การบันทึกเกรดของนักศึกษาในแต่ละภาคเรียน จนถึงภาคเรียนสุดท้ายจึงพิมพ์ใบรับรองเกรดเฉลี่ย ข้อมูลการใช้โทรศัพท์มือถือภายในช่วงรอบบัญชี (1 เดือน) จะถูกเก็บสะสมจนสิ้นสุดรอบบัญชี การประมวลผลแบบนี้จะไม่มีการโต้ตอบระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าระบบออฟไลน์ (Off-ling System) มีข้อดี คือ ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการใช้อุปกรณ์ ข้อเสีย คือ ข้อมูลจะไม่ทันสมัย
การประมวลผลแบบออนไลน์ (On-line Processing) เป็นวิธีที่ผู้ใช้สามารถใช้งาน พร้อมกันได้หลายคน (Multi-user) จะประมวลผลทันทีเมื่อรับข้อมูลเข้ามา โดยไม่ต้องรอรวมข้อมูลหรือสะสมข้อมูลไว้ก่อน โดยมีการเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่อยู่ในสถานที่อื่น มีความสามารถในการทำงานบางอย่างได้ เช่น เครื่องเอทีเอ็ม เครื่องตัดยอดของสินค้าทุกครั้งเมื่อมีการสั่งซื้อ เป็นต้น ข้อดี คือ ทำให้ได้ข้อมูลที่ทันสมัยเป็นปัจจุบันตลอดเวลา ข้อเสีย คือ หากมีข้อมูลมาก การประมวลผลจะช้าลง เนื่องจากมีเพียงเครื่องแม่ข่ายเท่านั้นที่ทำการประมวลผล

3. การประมวลผลแบบกระจาย (Distributed Computing)
 เมื่อมีการใช้งานคอมพิวเตอร์ในองค์กรที่มีขนาดใหญ่ขึ้น อาจมีการขยายสาขาออกไป ทำให้มีระบบการทำงานที่มีขนาดใหญ่ จึงมีการนำการประมวลผลแบบกระจายจากศูนย์กลางมาใช้ เพื่อชดเชยข้อจำกัดของการประมวลแบบรวมศูนย์ที่ค่อนข้างล่าช้า ส่งผลให้สามารถจัดสรรทรัพยากร เพื่อกระจายและแจกจ่ายการใช้งานข้อมูลต่าง ๆ ร่วมกันได้ทั่วทั้งองค์กรและรวดเร็วมากขึ้น และระหว่างหน่วยงานย่อยขององค์กรด้วย เช่น ฐานข้อมูล ข่าวสาร เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ เครื่องโทรสาร และเครื่องสแกนเนอร์ เป็นต้น

คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์

 โดยรวมเรียกลักษณะเด่น ทั้ง 4 รวม ๆ กันว่า 4S Special ของเครื่องคอมพิวเตอร์
          1)ลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์ด้านความจำ (Storage)
          2) ลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์ด้านความเร็ว (Speed)
หน่วยในพันของวินาที = 1/1000  เรียกว่า Millisecond 
หน่วยในล้านของวินาที = 1/1000000 เรียกว่า Microsecond
หน่วยในพันล้านของวินาที = 1/1000000000  เรียกว่า Nanosecond
หน่วยในล้านล้านของวินาที = 1/1000000000000  เรียกว่า Picosecond 
           3) ลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์ด้านการปฏิบัติงานอัตโนมัติ (Self )
           4) ลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์ด้านความน่าเชื่อถือ (Sure)

 ข้อจำกัดของคอมพิวเตอร์

 1. การวางระบบคอมพิวเตอร์ต้องใช้เวลานานมาก การที่หน่วยงานใดตัดสินใจนำคอมพิวเตอร์มาใช้งาน ต้องวางระบบงานเสียก่อน ว่าจะนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการทำงานด้านใด แล้วยังจะต้องมีการเรียนโปรแกรมคำสั่ง เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ได้ออกแบบไว้
 2. การรวบกวนระบบงานปกติ เมื่อมีคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในหน่วยงานที่ไม่เคยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์มาก่อน แน่นอนว่าต้องมีการเปลี่ยนแปลงระบบงานเดิม การเปลี่ยนแปลงส่งผลกระทบต่อจิตใจของพนักงาน และอาจสร้างความไม่พอใจ และก่อให้เกิดความวุ่นวายหลากประการขึ้นได้
3. การทำงานขึ้นอยู่กับมนุษย์ คอมพิวเตอร์เป็นได้แค่เครื่องมือช่วยมนุษย์ในการงาน ทั้งนี้เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่มีความคิดเป็นของตัวเอง และทำงานได้รับคำสั่งจากมนุษย์เท่านั้น ไม่ว่างานที่สั่งให้ทำจะถูกหรือผิด เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่รู้จักคิดหรือปรับปรุงวิธีการทำงานให้ดีขึ้น นับเป็นข้อจำกัดอย่างหนึ่งของเครื่องคอมพิวเตอร์

ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารต่อการพัฒนาประเทศ

จากแผนนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ พ.ศ. 2544-2553 ได้กล่าวถึงความสำคัญในด้านต่างๆ ดังนี้
การบริหารงานของรัฐบาล (e-Government)
- เป้าหมายในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาพัฒนาและปรับปรุงระบบงานบริหารที่สําคัญทุกประเภทของสวนงานของรัฐใหมีประสิทธิภาพสูงสุดภายในพ.ศ. 2547 
- พัฒนาบริการที่ใหแกสาธารณชนใหไดครบทุกขั้นตอนในพ.ศ. 2553 
- ยุทธศาสตรที่ใชในการพัฒนามุงใหเกิดความกระทัดรัด ความประหยัด ประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยใชเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารควบคูกับการปรับขั้นตอนและกระบวนการทํางาน
Þ การปฏิรูปงานวางแผนและงบประมาณ 
Þ การจัดองคกร 
Þ การพัฒนาบุคลากรของรัฐ 
Þ การพัฒนาการบริหารและการใหบริการโดยรวม
ตัวอย่าง
Þ การจัดเก็บภาษีรายได้ของรัฐ
Þ การจัดทำบัตรประชาชน
Þ การรับคำร้องเรียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
Þ การให้ข้อมูลการท่องเที่ยวผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
Þ ฯลฯ

พาณิชยกรรม (e-Commerce)

- มีเปาหมายในการมุงสรางประโยชนโดยรวมในกิจการพาณิชยของประเทศ 
ความสามารถในการแขงขันของคนไทย 
- การพาณิชยอิเล็กทรอนิกสสําหรับธุรกิจสงออก 
- การคาและบริการ 
- การบริโภคของประชาชน 
- ยุทธศาสตรที่ใชเปนการปฏิรูปการพาณิชยของประเทศใหมีโอกาสในตลาดตางประเทศดีขึ้น
Þ การปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวของกับการดำเนินธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกสและงานเกี่ยวเนื่อง 
Þ การจัดใหมีการชําระเงินผานระบบอิเล็กทรอนิกสที่มีความปลอดภัยสูง 
Þ การสรางระบบฐานข้อมูลและการจัดการขอมูลที่ทันสมัย เพื่อสงเสริมผูประกอบการขนาดกลางและย่อมให้เป็นกําลังสําคัญของระบบเศรษฐกิจใหม 
Þ การพัฒนาบุคลากรทุกประเภทและระดับ 
Þ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เจริญเติบโตเป็นธุรกิจเสรีรองรับการพัฒนาการพาณิชย์ให้เจริญมั่นคงต่อไป
ตัวอย่าง
Þ การให้ข้อมูลข่าวสาร การสร้างเครือข่าย และการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ OTOP (หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์) 
Þ การจองห้องพักผ่านระบบเครือข่าย
Þ การจองตั๋วเครื่องบินผ่านระบบเครือข่าย

อุตสาหกรรม (e-Industry)
- มีเปาหมายในการสงเสริมและพัฒนาการใชและการผลิตอุปกรณเทคโนโลยีสารสนเทศของภาคเอกชน เพื่อใหเกิดอุตสาหกรรมการผลิตที่ใชความรูเปนทรัพยากรสําคัญ ใน พ.ศ. 2553 
- ยุทธศาสตรที่ใช
Þ นําเทคโนโลยีสารสนเทศโดยเฉพาะระบบอินเทอรเน็ตมาใชประโยชนในการพัฒนาขอมูลของศูนยการตลาด และตลาดกลางสินคาอุตสาหกรรม 
Þ สนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมทั่วไป รวมถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยเฉพาะซอฟตแวรและอิเล็กทรอนิกส 

การศึกษา (e-Education)
- มีเปาหมายในการสร้างความพรอมของทรัพยากรมนุษยทั้งหมดของประเทศ เพื่อชวยกันพัฒนาใหเกิดสังคมแหง ภูมิปญญาและการเรียนรูที่มีคุณภาพ 
-ยุทธศาสตรที่ใช
Þ เนนหนักในการจัดหา จัดสราง สงเสริม สนับสนุน โครงสรางพื้นฐานสารสนเทศและอุปกรณเกี่ยวเนื่องกับการศึกษาและการเรียนรูรวมถึงวิชาการ ความรูสารสนเทศตางๆ และผูสอน
Þ การจัดการ และการบริหารการศึกษาและการฝกอบรมทั้งวิชาการและทักษะ เพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพความรูของทรัพยากรมนุษยของไทย
ตัวอย่าง
Þ การเปิดเครือข่าย school-net ให้แก่โรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศให้มีโอกาสหาความรู้จากระบบอิเทอร์เน็ตได้เท่าเทียมกัน 

สังคม (e-Society)
- เปาหมายที่จะลดความเหลื่อมล้ำของสังคมอันเป็นผลเนื่องมาจากความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสารสนเทศและความรู้ 
- ยุทธศาสตร
Þ การพัฒนาองคประกอบที่สําคัญ และจําเปนที่จะสรางใหสังคมไทยในศตวรรษที่ 21 เปนสังคมที่ดีงาม มีความสมบูรณและเพียงพอ มีคุณธรรมอันดีงามของศาสนาแทรกซึมอยูในใจของประชากรทุกหมูคณะ 
Þ มุงเนนการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักการและแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง 
บทสรุป
การใช้ข้อมูลข่าวสารเพื่อการศึกษาและการดำเนินการต่างๆ ในองค์กรมีความสำคัญมากต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีส่วนช่วยให้การดำเนินชีวิตของมนุษย์ในแต่ละวันมีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น
การได้รับข้อมูลข่าวสารยังเป็นการเปิดโอกาสให้มนุษย์ได้พัฒนาความรู้ความสามารถของตนเอง เป็นการสร้างช่องทางเลือกในการดำเนินชีวิตของตนเองมากยิ่งขึ้น  
การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกัน หรือการกระจายข้อมูลข่าวสารต่างๆ จะประสบผลสำเร็จได้นั้นขึ้นอยู่กับ
Ø ประเภทของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่มีอยู่
Ø วิธีการเลือกใช้เทคโนโลยีเหล่านั้นให้เกิดประโยชน์สูงสุด 

วิธีการเลือกใช้เทคโนโลยีเหล่านั้นให้เกิดประโยชน์สูงสุด 
Ø วัตถุประสงค์
Ø ความจำเป็นในการใช้งาน 
Ø ความพร้อมของบุคลากร 
Ø งบประมาณในการดำเนินการและการดูแลรักษา 

ปัจจัยที่ทำให้เกิดความล้มเหลวในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้

          จากงานวิจัยของ Whittaker (1999: 23) พบว่า ปัจจัยของความล้มเหลวหรือความผิดพลาดที่เกิดจากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในองค์การ มีสาเหตุหลัก 3 ประการ ได้แก่
1.การขาดการวางแผนที่ดีพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวางแผนจัดการความเสี่ยงไม่ดีพอ ยิ่งองค์การมีขนาดใหญ่มากขึ้นเท่าใด การจัดการความเสี่ยงย่อมจะมีความสำคัญมากขึ้นเป็นเงาตามตัว ทำให้ค่าใช้จ่ายด้านนี้เพิ่มสูงขึ้น
2. การนำเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมมาใช้งาน การนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในองค์การจำเป็นต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับลักษณะของธุรกิจหรืองานที่องค์การดำเนินอยู่ หากเลือกใช้เทคโนโลยีที่ไม่สอดรับกับความต้องการขององค์การแล้วจะทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา และเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณโดยใช่เหตุ
3. การขาดการจัดการหรือสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง การที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้งานในองค์กร หากขาดซึ่งความสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงแล้วก็ถือว่าล้มเหลวตั้งแต่ยังไม่ได้เริ่มต้น การได้รับความมั่นใจจากผู้บริหารระดับสูงเป็นก้าวย่างที่สำคัญและจำเป็นที่จะทำให้การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในองค์การประสบความสำเร็จ
สำหรับสาเหตุของความล้มเหลวอื่น ๆ ที่พบจากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ เช่น ใช้เวลาในการดำเนินการมากเกินไป (Schedule overruns), นำเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยหรือยังไม่ผ่านการพิสูจน์มาใช้งาน (New or unproven technology), ประเมินแผนความต้องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศไม่ถูกต้อง, ผู้จัดจำหน่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ (Vendor) ที่องค์การซื้อมาใช้งานไม่มีประสิทธิภาพและขาดความรับผิดชอบ และระยะเวลาของการพัฒนาหรือนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้จนเสร็จสมบูรณ์ใช้เวลาน้อยกว่าหนึ่งปี
นอกจากนี้ ปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ไม่ประสบความสำเร็จในด้านผู้ใช้งานนั้น อาจสรุปได้ดังนี้ คือ
1. ความกลัวการเปลี่ยนแปลง กล่าวคือ ผู้คนกลัวที่จะเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งกลัวว่าเทคโนโลยีสารสนเทศจะเข้ามาลดบทบาทและความสำคัญในหน้าที่การงานที่รับผิดชอบของตนให้ลดน้อยลง จนทำให้ต่อต้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
2. การไม่ติดตามข่าวสารความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก หากไม่หมั่นติดตามอย่างสม่ำเสมอแล้วจะทำให้กลายเป็นคนล้าหลังและตกขอบ จนเกิดสภาวะชะงักงันในการเรียนรู้และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
3. โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศกระจายไม่ทั่วถึง ทำให้ขาดความเสมอภาคในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือเกิดการใช้กระจุกตัวเพียงบางพื้นที่ ทำให้เป็นอุปสรรคในการใช้งานด้านต่าง ๆ ตามมา เช่น ระบบโทรศัพท์ อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ฯลฯ